fbpx

ภาพถ่ายครอบครัวชาวเยเมนที่ต้องอาศัยในซากปรักหักพังของบ้านตัวเอง

สงครามในเยเมนวิกฤติด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในโลก

ความขัดแย้งอันโหดร้ายในเยเมนก้าวเข้าสู่ปีที่สี่ เสียงการโจมตีทางอากาศยังคงเป็นดั่งนาฬิกาที่ปลุกให้หลายครอบครัวตื่นขึ้นในแต่ละวัน การโจมตีที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล รวมถึงโรงเรียนหลายแห่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติทั่วประเทศ  ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบีบให้ผู้คนกว่าสามล้านต้องละทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง ยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันกว่า 60,000 รายนับตั้งแต่ความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2015

นอกจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกวันแล้ว การลดค่าแรง การขึ้นราคาอาหาร และการลดค่าเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่ทำให้ชาวเยเมนนับล้านไม่สามารถอยู่รอดได้

ความพยายามล่าสุดขององค์การสหประชาชาติที่จะนำพาความขัดแย้งไปสู่การเจรจาสันติภาพไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้คนนับล้านสิ้นหวังว่าสงครามจะจบลงในเร็ววัน

อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเยเมนไม่ใช่ปัญหาของเยเมนเพียงฝ่ายเดียว หลายประเทศมีส่วนร่วมในสงครามด้วยการสนับสนุนเงินทุนในการสู้รบและการจัดหาอาวุธที่ทำให้การฆ่าดำเนินต่อไป

ทั้งอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส อิหร่าน และผู้มีอำนาจทุกคนในสงครามเยเมนนั้นสามารถใช้อิทธิพลของตนยุติความรุนแรงได้

แต่กว่าประเทศเหล่านั้นจะตระหนัก ผู้คนในเยเมนก็ยังคงต้องแบกรับความรุนแรงเอาไว้ต่อไป

และนี่คือภาพถ่ายและเรื่องราวบางส่วนของพวกเขา

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน Abdulrahman วัย 33 ปีและครอบครัวของเขาได้ยินเสียงระเบิดดังอยู่ข้างบ้านของเขาในกรุงซานาอฺ บ้านของเพื่อนบ้านที่ติดกันถูกโจมตีทางอากาศ “ผมไม่เคยคาดคิดว่าอะไรแบบนี้จะเกิดขึ้นใกล้บ้านเรา ลูกคนสุดท้องของผมยังคงวิ่งหนีไปที่มุมห้องและซ่อนตัวทุกครั้งที่เขาได้ยินเสียงเครื่องบินอยู่เหนือเรา – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

Muhannad เด็กชายอายุ 10 ขวบป่วยด้วยโรคอหิวาต์ก่อนที่ครอบครัวของเขาจะถูกบีบให้หนีออกจากบ้านเกิดของตัวเองเมื่อแปดเดือนก่อน “ผมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เนื่องจากอาการปวดท้อง” เด็กชายกล่าว เขาป่วยจนแม่คิดว่าเขาจะตายไปแล้ว – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

Yusuf อายุ 28 ปีผู้สูญเสียคนในครอบครัวไป 8 คนจากการถูกโจมตีทางอากาศที่บ้านของพวกเขาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 4 ใน 8 คนที่เสียชีวิตอายุต่ำกว่า 13 ปี เด็กอายุน้อยสุดที่เสียชีวิตครั้งนั้นคือเด็กทารกอายุเพียง 8 เดือน “พวกเขา [คู่ความขัดแย้ง] กำลังมุ่งเป้าที่พลเรือนของกันและกันมากกว่า สงครามกับคนไร้เดียงสาต้องหยุดลง” เขากล่าว – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

เด็กผู้หญิงคนหนึ่งยืนอยู่ภายในค่าย Al Habbari สำหรับผู้พลัดถิ่นในกรุงซานาอฺ ค่ายนี้ตั้งอยู่บนที่ดินเอกชนและได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของเพียงเล็กน้อย ครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่นี่ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเช่นห้องอาบน้ำและห้องสุขา – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

เด็กผู้หญิงกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่ในซากปรักหักพังของโรงเรียนของพวกเขาในเมือง Amran โรงเรียนเพิ่งเปิดได้เพียงปีเดียวก่อนถูกโจมตีทางอากาศในปี ค.ศ. 2017 การศึกษาของเด็กสองพันคนจึงถูกทิ้งไว้กลางคัน – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

Abdullah ยืนอยู่หน้าซากปรักหักพังของที่ทำงานเก่าของเขา “โรงงานปูนซีเมนต์นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผม ผมทำงานที่นี่เป็นเวลา 35 ปี” Abdullah ซึ่งเป็นผู้จัดการห้องปฏิบัติการกล่าว โรงงานนี้มีพนักงาน 1,500 คน แต่โรงงานตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทางอากาศหลายครั้งในปี 2016 เพื่อนร่วมงาน 15 คนของ Abdullah เสียชีวิตในการโจมตี – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

Hassan วัย 5 ขวบและน้องสาวอายุ 3 เดือน ได้รับคำสั่งให้ออกจากบ้านของพวกเขาในเมือง Hodeidah ซึ่งความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ครึ่งล้านคนต้องหนีออกจากพื้นที่ในช่วงเดือนมิถุนายนและสิงหาคมตามลำพัง – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

อะฮ์หมัดวัย 39 ปี และอาลีลูกชายอายุ 6 ปี ถูกบังคับให้หนีไปกับครอบครัวที่ยังคงเหลืออยู่จากเมือง Taizz ไปยังกรุงซานาอฺ อะฮ์หมัดเคยเป็นชาวนา ไม่ใช่ครั้งแรกที่พวกเขาต้องหนีเพราะสงคราม ส่งผลให้พวกเขาขาดแคลน “ผมต้องการให้ลูกๆ ไปโรงเรียน ได้กินอาหาร และมีสุขภาพที่ดี” อะฮ์หมัดกล่าว – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

อับดุลลอฮ์ 8 ขวบ และฮุซเซ็นน้องชายวัย2 ขวบของเขาหน้าที่พักในค่ายสำหรับผู้ลี้ภัยในกรุง อับดุลลอฮ์ช่วยพ่อของเขาในแต่ละวันในการพยายามหาเลี้ยงชีพในสภาพแวดล้อมใหม่ “ผมใช้เวลาในแต่ละวันของผมเก็บขวดพลาสติก ทุกเช้าผมจะเก็บรวบรวมและพยายามหาที่ขาย” อับดุลลอฮ์กล่าว – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

คอลิด 6 เดินผ่านรถที่ถูกเผาหน้าบ้านของเขาในกรุงซานาอฺ ซากรถคันนี้เกิดจากการโจมตีทางอากาศใส่เพื่อนบ้านของเขา คอลิดจะวิ่งหนีไปซ่อนทุกครั้งที่เขาได้ยินเครื่องบินกำลังใกล้เข้ามา – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

มุฮัมหมัดวัย 42 ปีและลูกชายวัย 19 ปีของเขายืนอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ถูกโจมตี “ทำไมพวกเขาถึงพุ่งเป้ามาที่พลเมืองเยเมน? ความผิดของพวกเราคืออะไร? เราไม่มีอาวุธ เราไม่มีจรวด เราไม่มีอะไรเลย เราเป็นพลเมืองที่รักสงบ เราแค่เพียงหาเลี้ยงครอบครัวและลูกๆ ของเราเท่านั้น” มุฮัมหมัดกล่าว – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

ชาวเยเมน 9 คนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้เสียชีวิตทันทีจากการโจมตีทางอากาศเมื่อปีที่แล้ว การโจมตีจากทั้งสองฝ่ายต่อพลเรือนและโครงสร้างพื้นฐานเป็นเครื่องหมายการค้าของสงครามที่โหดร้ายของเยเมน พลเรือนนับหมื่นถูกสังหารในความขัดแย้งจนถึงขณะนี้ – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

Zaumala และ Waslame ภรรยาของเขา รวมถึงลูกและหลานต้องหนีไปยัง Amran Governorate เมื่อสองปีที่แล้วหลังสงครามเริ่มขึ้น ก่อนหลบหนีลูกสาวของทั้งคู่เสียชีวิตในการโจมตีทางอากาศระหว่างกำลังจ่ายตลาดท้องถิ่น พวกเขาฝังศพของทั้งคู่ไว้ก่อนที่จะหนีไป – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

ซากปรักหักพังของบ้านที่ถูกทิ้งระเบิดในย่านชุมชนในกรุงซานาอฺ บ้านหลังนี้ถูกโจมตีในช่วงเย็นของเดือนรอมฎอน พลเรือน 7 คนได้รับบาดเจ็บรวมทั้งเด็ก 4 คน – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

 

ค่ายนี้ใน Amran Governorate เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนหลายร้อยครอบครัวที่ต้องอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ที่อันตราย ไม่มีน้ำ ไม่มีสุขอนามัยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย หลายครอบครัวต้องอาศัยอยู่ในที่พักพิงที่คับแคบ เด็กๆ มีอาการผื่นแดงและแผลที่มองเห็นได้ตามร่างกาย ครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่นี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคระบาดอหิวาตกโรคที่ใหญ่ที่สุดในโลก – BECKY BAKR ABDULLA/NORWEGIAN REFUGEE COUNCIL

ที่มา : Meet the families who survive in the rubble of their former lives

อ่านเรื่องนี้แล้วคิดอย่างไร ?

About author View all posts Author website

Halal Life

Halal Life สื่อออนไลน์ที่นำเสนอแนวคิด และองค์ความรู้ที่ฮาลาล ผ่านเรื่องราว ผ่านมุมมอง และผ่านประสบการณ์ของหลากหลายผู้คน เพื่อเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้ชีวิตในแบบฮาลาลเข้าไว้ด้วยกัน